วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2563

การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา

การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และเงื่อนไขของปัญหา

การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์นั่น ก่อนที่ระบุขั้นตอนวิธีที่ชัดเจนได้ จะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สามารถใช้ในการประมวลผลได้ มัเงื่อนไขต่างๆ อย่างไร ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร โดยจะแบ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกเป็นสองส่วนคือ

1.ข้อมูลเข้า ( input ) เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประมวลผล

2.ข้อมูลออก ( output ) เป็นข้อมูลผลลัพธ์ที่ต้องการ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่งสอนส่วนนี้ นอกจากจะระว่าคืออะไรแล้ว ยังอาจระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ เช่น ข้อมูลอาจการระบุขอบเขตหรือเงื่อนไข หรือข้อมูลออกอาจมีการระบุคุณสมบัติที่ต้องการ การวิเคราะห์นี้เป็นการระบุข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งจำเป็นต่อการออกแบบขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง

การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์นั่น ก่อนที่ระบุขั้นตอนวิธีที่ชัดเจนได้ จะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สามารถใช้ในการประมวลผลได้ มัเงื่อนไขต่างๆ อย่างไร ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร โดยจะแบ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกเป็นสองส่วนคือ

1.ข้อมูลเข้า ( input ) เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประมวลผล

2.ข้อมูลออก ( output ) เป็นข้อมูลผลลัพธ์ที่ต้องการ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่งสอนส่วนนี้ นอกจากจะระว่าคืออะไรแล้ว ยังอาจระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ เช่น ข้อมูลอาจการระบุขอบเขตหรือเงื่อนไข หรือข้อมูลออกอาจมีการระบุคุณสมบัติที่ต้องการ การวิเคราะห์นี้เป็นการระบุข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งจำเป็นต่อการออกแบบขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่งสอนส่วนนี้ นอกจากจะระว่าคืออะไรแล้ว ยังอาจระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ เช่น ข้อมูลอาจการระบุขอบเขตหรือเงื่อนไข หรือข้อมูลออกอาจมีการระบุคุณสมบัติที่ต้องการ การวิเคราะห์นี้เป็นการระบุข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งจำเป็นต่อการออกแบบขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง 2.1 ปัญหาการหา ห.ร.ม

พิจารณาตัวอย่างปัญหาการหา ห.ร.ม จากหัวข้อที่ 1.2 ในบทที่ 1 นักเรียนสามารถระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออก รวมทั่งเงื่อนไขได้ดังนี้

 ข้อมูลเข้า : จำนวนเต็มบวกหนึ่งจำนวน a และ b

ข้อมูลออก : จำนวนเต็มบวกหนึ่งจำนวน c ที่มีคุณสมบัติดังนี้

ตัวอย่างที่ 2.2 คะแนนสอบ

พิจารณาสถานการณ์สมมติต่อไปนี้

ครูได้ตรวจข้อสอบของนักเรียน40คน และได้ประกาศคะแนนไว้หนน้าห้อง หากต้องการหาคะแนนสูงสุด และต่ำสุด และคำนวณคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคน ในกรณีนี้ระบุข้อมูลออกได้ดังนี้

ข้อมูลเข้า : รายการคะแนนสอบของนักเรียน 40 คน

ข้อมูลออก : คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุด คะแนนเฉลี่ย

แม้ว่าในหลานๆ กรณี การระบุข้อมูลเข้าและข้อมูลออกนั่นอาจตะไม่สามารถทำได้อย่างชัดเจน แต่ความพยายามในการระบุข้อมูลทั่งสองมักเป็นเงื่อนไขให้ต้องทำความเข้าใจกับปัญหามากขึ้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง ที่ 2.3 แบ่งกลุ่มการทำงาน

นักเรียนในห้องต้องการจัดกิจกรรมวันภาษาไทย จากการประชุมมีงานที่ต้องทำดังนี้

จัดบอร์ดหน้าห้องเกี่ยวกับภาษาไทย

จัดเตรียมงานโต้วาที

เป็นกลุ่มผู้โต้วาที โดนมาสองกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน

อ่านกลอนทำน้องเสนาะ

ร้องเพลงไทยสมัยใหม่

เพื่อให้ทุกคนได้ทำงานที่ต้องการทำหรืออย่างน้องเป็นงานที่ยินดีทำ จึงได้ให้นักเรียนทุกคนกรอกข้อมูลว่าสมมารถทำงานใดได้บ้าง และมีงานใดบ้างที่ต้องการทำเป็นพิเศษ โดยมีเงื่อนไขว่า ให้นักเรียนหนึ่งคนไม่ควรทำงานเกิน 2 อย่าง และผู้โต้วาทีไม่ควนเป็นคนจัดเตรียมงานโต้วาที จากจ้อมูลดังกล่าว ต้องการจัดกลุ่มว่านักเรียนคนใดจะทำงานใดบ้าง สามารถระบุข้อมูลเข้าและข้อมูลออกได้ดังนี้

ข้อมูลเข้า : รายการของงาทั่งหมด ข้อมูลนักเรียนแต่ละคนที่ระบุว่าสามารถทำงานใดได้บ้างและต้องการทำงานใดเป็นพิเศษบ้าง

ข้อมูลออก : ข้อมูลที่ระบุว่านักเรียนคนใดทำงานอะไร โดยมีเงื่อนไขดังนี้

จากการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้น นักเรียนอาจจะพบปัญหาเมื่อเริ่มดำเนินการ เช่น ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่ระบุงานที่สามารถทำได้ ก็จะทำให้ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ สักเกตว่าการระบุข้องมูลที่ชัดเจนทำให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะช่วยปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ได้ดีกว่าเดิมในกรณีนี้เพื่อให้สามารถจัดกลุ่มได้ อาจะเพิ่มเงื่อนไขให้นักเรียนทุกคนต้องเลือกงานที่สามาทำได้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง

ตัวอย่างที่ 2.4 อุปกรณ์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ

ตัวอย่างนี้จะพิจารณาการสร้างอุปการณ์เพื่อตรวจสอบความชื่นของดิน ถ้าดินแห้งจะสั่งให้รถน้ำต้นไม้โดยอัตโนมัติ ระบบดังกล่าวแสดงดังรูป 2.3

ระบบการรดน้ำต้นไม้อัตโนมัตินี้มีการรับและส่งงานระหว่างคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ตัวตรวจจับ ( sensor ) เพื่อใช่อ่านข้อมูลจากสภาพแวดล้อมหรือจากสิ่งที่สนใจโดยข้อมูลเข้า คือ ระดับความชื่นของดินที่อ่านจากตัวตรวจจับ  และเครื่องคอมพิวเตอร์จะประมวลผลเพื่อสั่งงานไปยังอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดน้ำ ดังนั่นข้อมูลออกในกรณีนี้คือสัญญาณควบคุมอุปกรณ์เปิดปิดน้ำโดนสรุป สามารถระบุจ้อมูลเข้าและข้อมูลออกได้ดังนี้

ข้อมูลเข้า :  ระดับความชื้นของดิน (ผ่านทางตัวตรวจจับ)

ข้อมูลออก : สัญญาณควยคุมการเปิดปิดน้ำ

การนำเสนอและเผยแพร่โครงงาน

การนำเสนอและเผยแพร่โครงงาน

1. การนำเสนอโครงงาน

          การแสดงผลงานจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงานเรียกได้ว่าเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการแสดงผลิตผลของความคิดและการปฏิบัติการทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเวลาไป และเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้นๆ มีผู้กล่าวกันว่าการวางแผนออกแบบ เพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่าๆ กับการทำโครงงานนั้นเอง ผลงานที่ทำจะดียอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดีก็เท่ากับไม่ได้แสดงถึงความยอดเยี่ยมของผลงานนั้นเลย

          1. การจัดแสดงและการนำเสนอผลงาน

              การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

              1. ชื่อโครงงาน

              2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

              3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

              4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน

              5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ

              6. การสาธิตผลงาน

              7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน

              ถ้าเป็นการรายงานด้วยคำพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรียมการในประเด็นต่อไปนี้

              1. จัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างเป็นระบบและนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย

              2. ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบายให้ดี รวมถึงเตรียมข้อมูลที่อาจต้องใช้ในการตอบคำถาม

              3. หลีกเลี่ยงการนำเสนอด้วยวิธีอ่านรายงาน

              4. ควรมองไปยังผู้ฟังขณะรายงาน

              5. ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา

              6. รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

              7. ควรใช้โปรแกรมนำเสนอประกอบการรายงาน

              8. ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง

              9. ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรจะอยู่ในสภาพที่ทำงานได้เป็นอย่างดี

          2. การจัดนิทรรศการโครงงานควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

              1. ความปลอดภัยของการจัดแสดง

              2. ความเหมาะสมกับเนื้อที่จัดแสดง

              3. คำอธิบายที่เขียนแสดงควรเน้นประเด็นสำคัญ และสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น โดยใช้ข้อความกะทัดรัด ชัดเจน และเข้าใจง่าย

              4. ดึงดูดความสนใจผู้เข้าชม โดยใช้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจ ใช้สีที่สดใส เน้นจุดที่สำคัญหรือใช้วัสดุต่างประเภทในการจัดแสดง

              5. ใช้ตาราง และรูปภาพประกอบ โดยจัดวางอย่างเหมาะสม

              6. สิ่งที่แสดงทุกอย่างต้องถูกต้อง ไม่มีการสะกดผิดหรืออธิบายหลักการที่ผิด

              7. ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

          3. การแสดงผลงานโครงงานด้วยโปสเตอร์

              โปสเตอร์โครงงานที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

              1. มีข้อมูลที่กระชับและชัดเจน

              2 .มีหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ

              3. แสดงให้เห็นสิ่งที่ค้นพบหรือสิ่งที่พัฒนา

              4. แสดงกระบวนการ / วิธีการ ที่พัฒนา

              5. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย

              6. เรียงเรื่องให้อ่านตามได้เข้าใจ

              7. ตัวหนังสืออ่านได้ชัดเจน

              8. ทำงานประณีต เรียบร้อย ไม่มีคำผิดเลย

              9. จัดส่วนประกอบต่าง ๆ ได้เหมาะสม ไม่แน่นเกินไป

             10. นำเสนอได้น่าสนใจ

             11. มีภาพและงานกราฟิกประกอบ ทำให้ข้อมูลชัดเจนขึ้น

             12. ใช้สีสันที่สมดุล

             13. มีหลักฐานอ้างอิง

          4. การพูดต่อหน้ากลุ่มคน

              แม้นว่าสิ่งที่จะพูด เป็นสิ่งที่ผู้ทำโครงงานรู้แล้วเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ในการพูดให้ผู้อื่นฟัง ผู้ทำโครงงานต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเตรียมสาระที่พูดให้เหมาะสมกับผู้ฟัง มีเป้าหมายในการพูด และพูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจอยากฟัง การพูดที่ดีต้องมีการเตรียมตัว ดังนี้

              1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่จะพูด

              2. วางแผนสิ่งที่จะพูด

              3. เตรียมสื่อที่ใช้ประกอบการพูด

              4. เขียนโน้ตช่วยจำ

              5. ฝึกพูดหลายๆ ครั้ง

              6. เลือกประเด็นสำคัญเพียง 4 - 5 อย่างเท่านั้น เพราะคนเราจำอะไรไม่ได้มากนักจากการฟังคนอื่นพูด

              7. เตรียมประเด็นข้อมูลที่จะพูดให้ตรงกับผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังอาจเป็นกรรมการตัดสินโครงงาน ครูอาจารย์โรงเรียนอื่นๆ เพื่อนผู้เรียน หรือบุคคลทั่วไป เป็นต้น

          5. การวางแผนสิ่งที่จะพูด

              ผู้ทำโครงงานต้องวางแผนการพูด โดยวางโครงร่างของสิ่งที่จะพูด เพื่อให้รู้ล่วงหน้าถึงลำดับของสิ่งที่จะพูด โดยแบ่งส่วนที่จะพูดออกเป็น 3 ส่วน

              ส่วนเริ่มต้น

              - บอกว่าเป็นใคร...ชื่ออะไร

              - บอกชื่อโครงงานที่ทำ

              - กล่าวนำสั้น ๆ ถึงสิ่งที่จะพูด ด้วยวิธีการที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง

              - โชว์ภาพ ตั้งคำถามผู้ฟัง

              - แสดงส่วนที่น่าสนใจของโปรแกรมที่พัฒนา

              ส่วนสาระสำคัญ

              - แบ่งสาระสำคัญที่จะพูดเป็นประเด็น ๆ

              - เรียงลำดับประเด็นไว้

              - แต่ละประเด็นพูดนำด้วยประโยค 1 ประโยค

              - พยายามเชื่อมโยงสิ่งที่พูดในแต่ละประเด็นให้ใกล้ตัวผู้ฟัง

              ส่วนสรุป

              - บอกประโยชน์ของสิ่งที่ค้นพบ / โปรแกรมที่พัฒนา

              - เสนอแนวคิดในการพัฒนาหรือต่อยอดโครงงาน

              - จบลงด้วยสิ่งสรุปที่สร้างความประทับใจผู้ฟังและทำให้ผู้ฟังจดจำไว้ได้

          6. การฝึกพูด

              - ฝึกพูดก่อนวันพูดจริง

              - จำประเด็นสำคัญที่จะพูด

              - ฝึกพูดให้เป็นธรรมชาติ

              - ฝึกพูดให้ชัดเจน

              - รู้จังหวะเน้น

              - ไม่พูดเร็ว

          7. การเตรียมสื่อประกอบ

              ในการนำเสนอด้วยการพูด ผู้ทำโครงงานต้องเตรียมสื่อที่จะช่วยให้ผู้ฟังสนใจฟัง และเข้าใจในสิ่งที่พูดได้โดยง่าย แต่สื่อที่ใช้ไม่ควรสลับซับซ้อน ควรเป็นสื่อง่ายๆ ใช้ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ แสดงกราฟ โมเดล หรือสาธิตประกอบได้ ถ้าโครงงานจำเป็นต้องทำเช่นนั้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงสถานที่ที่จะนำเสนอด้วย เช่น อุปกรณ์ที่มีให้ แสงในห้อง ขนาดห้อง ฯลฯ

          8. สื่อนำเสนอที่ดี

              -มีตัวหนังสือน้อย

              -มีเฉพาะประเด็นสำคัญ

              -ตัวหนังสือมีขนาดโตพอที่ผู้ชมอ่านได้

              -ใช้ตัวอักษรสีเข้ม เช่น สีดำ สีน้ำเงินเข้ม

              -ออกแบบการนำเสนอให้เรียบง่าย

              -ไม่พูดโดยการอ่านจากสิ่งที่เขียน

              การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะทำงานวิจัยและประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้หลายประเทศทั่วโลกขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

2. การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์

              เกณฑ์ในการให้คะแนนก็แล้วแต่อาจารย์ผู้สอนจะเห็นสมควร แต่ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำเค้าโครงงาน ผลงาน และรายงานในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน เพราะทุกส่วนล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาโครงงานที่ดีและมีคุณภาพ ตัวอย่างการพิจารณาแบ่งคะแนนจากคะแนนเต็ม100 % ได้แก่

              การประเมินโครงงานควรเป็นการประเมินตามสภาพจริง เพื่อค้นหาความสามารถและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน ซึ่งกรอบแนวทางการประเมินได้แก่

              1. ประเมินอะไร

                 1.1 ผลผลิต / ผลงาน / ชิ้นงาน

                 1.2 กระบวนการเรียนรู้

                 1.3 กระบวนการทำงาน

                 1.4 การแสดงออกถึงความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

              2. ประเมินเมื่อใด

                 2.1 การคัดเลือกหัวข้อจนถึงการนำเสนอผลงาน

                 2.2 ตามสภาพจริง

              3. ประเมินจากอะไร

                 3.1 ผลงาน

                 3.2 การทดสอบ

                 3.3 บันทึกต่างๆ

                 3.4 แฟ้มสะสมผลงาน

                 3.5 การตรงต่อเวลาของการส่งงาน

                 3.6 หลักฐานหรือร่องรอยอื่น

              4. ประเมินโดยใคร

                 4.1 ผู้สอน

                 4.2 ผู้เรียน

                 4.3 เพื่อนร่วมชั้นเรียน

                 4.4 ผู้ปกครอง

                 4.5 ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

              5. ประเมินโดยวิธีใด

                 5.1 ตรวจผลงาน

                 5.2 ตรวจรายงาน

                 5.3 ทดสอบ

                 5.4 นำเสนอผลงาน

                 5.5 นิทรรศการ

                 5.6 สังเกต

                 5.7 สัมภาษณ์

              การปฏิบัติงานเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งต้องจัดให้มีการประเมิน การปฏิบัติงานของผู้เรียนตลอดเวลา ขณะที่ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนต่างๆ และนำผลเหล่านั้นมาพัฒนา ปรับปรุง การปฏิบัติงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยควรให้ผู้เรียนได้มีทำการจดบันทึกตลอดจนใช้แฟ้มสะสมผลงานตลอดเวลาด้วย

              สิ่งที่ควรพิจารณาในการประเมินโครงงานคอมพิวเตอร์ ได้แก่

              1. บรรลุตามวัตถุประสงค์ พิจารณาว่าผลงานที่ได้สอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์หรือไม่ มากน้อยอย่างไร

              2. คู่มือการติดตั้ง และคู่มือการใช้งาน พิจารณาความครบถ้วน ถูกต้องและการใช้งานที่ง่าย

              3. ความสมบูรณ์ของผลงาน หมายถึงการทำงานที่ถูกต้อง ความสวยงามและความเรียบร้อย

              4. การนำไปใช้ประโยชน์ ผลงานนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในลักษณะใดได้บ้าง มีผลกระทบต่อใคร และอย่างไร

              5. เทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหา มีความยากง่ายระดับใด มีการนำมาประยุกต์ใช้ได้ถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

              6. ความคิดสร้างสรรค์/ความแปลกใหม่ อาจพิจารณาเป็นคะแนนพิเศษ เพราะโครงงานบางชิ้นไม่ได้เป็นงานใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพเท่านั้น ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโครงงานได้เช่นกัน

              เพื่อการติดตามและประเมินผลงานของผู้ เรียนได้อย่างใกล้ชิด ผู้สอนอาจแนะนำให้ผู้เรียนจัดทำตารางเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนเองด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทราบผลการปฏิบัติงานว่าสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานที่ตั้งไว้ในเค้าโครงร่างหรือไม่ และควรจะปรับปรุงตนเองอย่างไรเพื่อให้ได้ผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้

การดำเนินงาน

 การดำเนินงาน

การดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง  ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1 .การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโครงการ

2. กลุ่มเป้าหมาย

3. การดำเนินการ

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียง

            ผู้รับผิดชอบโครงการได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการดำเนินการจัดโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

1. ศึกษาเอกสาร / คู่มือ ข้อมูลจากหนังสือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางเกี่ยวกับการจัดโครงการเศรษฐกิจพอเพียง

2.ศึกษาขั้นตอนการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เพ่อเป็นแนวทางในการจัดเตรียมงาน วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากรให้เหมาะสม

กลุ่มเป้าหมาย

            กลุ่มเป้าหมายของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

สถานที่และระยะเวลาดำเนินการ

            สถานที่ดำเนินการ ได้แก่ โรงเรียนไหล่หิน ตำบลไหล่หิน  อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

            ระยะเวลาดำเนินการ (โครงการเศรษฐกิจพอเพียง) ตลอดปีการศึกษา

วิธีดำเนินการ

            การดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง   ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1.      ขั้นเตรียมการ / วางแผน

                    ประชุมปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

                    เขียนโครงการ วางแผนมอบหมายงานให้ฝ่ายต่าง ๆ เตรียมดำเนินการ

2.      ขั้นดำเนินการ / ปฏิบัติ

- เสนอโครงการเพื่อขอความเห็นชอบ/อนุมัติจากผู้อำนวยการโรงเรียน

                   -วางแผนการจัดกิจกรรมในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดตารางกิจกรรม ในแต่ละกลุ่มกลุ่มกิจกรรม มอบหมายงานให้แก่ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่าง ๆ  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

                   -ประชาสัมพันธ์โครงการเศรษฐกิจพอเพียง   ไปยังนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตลอดจนผู้ปกครองนักเรียนโดยแจ้งผ่านหนังสือให้นักเรียนนำไปให้ผู้ปกครองทราบ

ดำเนินการตามแผน ดังนี้

                  - ประชุมนักเรียนทุกคนเพื่อทำความเข้าใจ ข้อตกลงร่วมกัน

                   - จัดกิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียง

การวางแผนและออกแบบโครงงาน

 

การวางแผนและออกแบบโครงงาน

หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต และแนวทางในการพัฒนาโครงงานแล้ว ควรวางแผนการพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนต่างๆ ให้รอบครอบ รัดกุม

1. ศึกษาเอกสาร และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงงาน

ขั้นตอนนี้ ควรเริ่มจากการค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม และศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น

2. กำหนดผลสำเร็จของโครงงาน

เป็นการกำหนดสิ่งที่จะส่งมอบและเวลาในการส่งมอบให้ชัดเจน

3. แบ่งการดำเนินการออกเป็นกิจกรรมย่อย

ในการพัฒนาโครงงานนั้น ต้องแบ่งการทำงานออกเป็นกิจกรรมย่อยให้ชัดเจน เช่น ขั้นวางแผน , ขั้นการสำรวจ , ขั้นศึกษาเทคนิคที่เกี่ยวข้อง , ขั้นพัฒนาโปรแกรม , ขั้นการทดสอบและปรับปรุง และ ขั้นจัดทำเอกสาร เป็นต้น

4. กำหนดขั้นตอนก่อนหลังของแต่ละกิจกรรม

เป็นการนำขั้นตอนต่างๆ ในข้อที่ 3 มาจัดลำดับความสำคัญ แล้วเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย โดยอาจเขียนเป็นแผนภูมิก็ได้ เช่น

 

 

โครงงาน